Gas Detector



Gas Detector


Gas Detector ตัวตรวจจับแก๊ส Gas Sensor
ตัวตรวจจับแก๊ส LPG และ Natural gas  เหมาะสำหรับ ห้องครัว ร้านอาหาร  หรือบริเวณ ใดๆที่ต้องการตรวจจับแก๊ส
ตรวจจับได้อย่างแม่นยำ ออกแบบ ด้วย 
เซนเซอร์ คุณภาพสูง มี LED บอกสถานะ ของระดับ แก๊สที่ตรวจจับได้

การติดตั้ง
- เสียบปลั๊ก 220 VAC
- ติดตั้ง ตำแหน่ง สูงจากพื้น ประมาณ 1-2 ฟุต

มี Output Drive Valve เปิดปิดแก๊ส

Feature 

เซนเซอร์ คุณภาพสูง
ประมวลผลด้วย Microprocessor Unit 
มีระบบตรวจเช็ค False alarm พร้อม LED บอกสถานะ
ออกแบบให้ตรวจจับ แก๊ส NGV และ LPG
ออกแบบ ด้วย SMT manufacture technology, ให้เสถียรภาพสูงสามารถทำงานร่วมกับ  electromagnetic valve (Option )แสดงผลระดับแก๊สด้วย  LED Digital  (หน่วย PPM) 

Technical Specification 
Operating voltage:  AC110~230V,50~60Hz,optional 9V rechargeable Ni-MH battery backup
Temperature Range:  0 ℃ ~ +50 ℃
Humidity Range:  10% to 95% relative humidity (RH)
Alarm Level : Gas: 0.5 % ( 5000 PPM±1500 PPM )
Alarm Reset : Auto reset
Sensor : Catalytic combustion sensor
Display range : 2000ppm-9900ppm
Alarm output:  Sound&LED flash alarm
Horn output:  85dB(at 10ft)
Concentration display:   Digital LED
Gas species:  LPG;  artificial gas
Alarm level:  10%±5%LEL
Sensor:   Catalytic type
Rated power:  2.5W
Execute criterion : EN50194 ;UL1484
Dimension:  118.5*82*43mm

1. หลักการและวิธีการสอบเทียบ Gas Detector ส่วนมากจะเป็นลักษณะคล้ายๆ กัน คือการนำ Standard Gas ป้อนให้กับ Gas Detector จากนั้นเครื่องก็จะให้เราทำการปรับตั้งค่าเพื่อให้ตรงตามค่าของ Stadndard Gas หรือบางเครื่องก็จะปรับค่าให้เองโดยอัตโนมัติ. สำหรับวิธีการเข้าโหมดการสอบเทียบนั้นก็ขึ้นอยู่กับทางผู้ผลิตแต่ละที่ว่าจะ ตั้งโปรแกรมมาอย่างไร ซึ่งสามารถหาอ่านได้จากคู่มือของการใช้งานในแต่ละเครื่องครับ

2. ผู้สอบเทียบและผู้รับรองการสอบเทียบส่วนมาก จะได้รับการอบรมและแต่งตั้งจากบริษัทผู้ผลิตโดยตรง ให้สามารถทำการสอบเทียบเครื่องวัดแก๊สในยี่ห้อนั้นๆได้ และจะมีการ Refresh Training ทุกๆกี่เดือนหรือกี่ปี ขึ้นอยู่กับทางบริษัทผู้ผลิตและผู้ได้รับการแต่งตั้ง ที่วางแนวทางในการปฏิบัติไว้ร่วมกันครับ

3. เมื่อเกิดเหตุขึ้นมาจริงๆ แล้ว ทางผู้สอบเทียบก็อาจจะตกเป็นจำเลยที่ 2,3 หรือ 4 ก็เป็นไปได้. แต่ท้ายที่สุดหากผู้สอบเทียบปฏิบัติตามข้อปฏิบัติอย่างเคร่งครัดแล้ว และมีหลักฐานให้การปฏิบัติงาน เช่น หลักฐานการตรวจสอบเครื่อง, ใบ Cer ของStandard Gas ที่ใช้ในการสอบเทียบ เป็นต้น ซึ่งแสดงให้เห็นถึงว่าตนเองได้ตรวจสอบและปฏิบัติตามข้อกำหนดอย่างดีแล้ว ก็อาจจะช่วยเป็นเกาะป้องกันตัวเองได้ในระดับหนึ่งครับ. 

4. ความถี่ในการสอบเทียบนั้น ตามคำแนะนำของบริษัทผู้ผลิตแนะนำว่าก่อนที่จะนำ Gas Detector ไปใช้ควรทำการ Bump Test ก่อนทุกครั้ง. Bump Test คือการป้อน Standard Gas เข้าสู่เครื่องโดยขณะที่อยู่ในโหมดตรวจวัดปกติ ไม่ได้อยู่ในโหมดการสอบเทียบ จากนั้นอ่านค่าที่วัดได้ว่าตรงตาม Standard Gas ที่ป้อนเข้าไปหรืออยู่ในช่วง Accuracy หรือไม่. หากอยู่ในช่วงก็สามารถนำเครื่องไปใช้ได้เลย แต่หากใช้เกิน 24 ชม. แล้วให้ทำการ Bump Test ** กครั้ง. แต่หากไม่อยู่ในช่วงให้ทำการสอบเทียบเครื่อง. ซึ่งบางบริษัทจะไม่ค่อยได้ทำ Bump Test กัน. เนื่องจากจะต้องเสียค่าใช้จ่ายในการซื้อ Standard Gas เพื่อมาทำ Bump Test เพิ่มขึ้น. ดังนั้นบางบริษัทจึงหันมาใช้วิธีการกำหนดความถี่ในการสอบเทียบให้ถี่ขึ้น ซึ่งขึ้นอยู่กับความเสี่ยงและความถี่ในการใช้งาน บางที่สอบเทียบทุก 1, 3 หรือ 6 เดือน บางที่ก็ 1 ปี



อ้างอิงจาก
http://www.monitoringathome.com/gas_detector.html
http://www.npc-se.co.th/webboard/m_board_reply.asp?ques_id=2922&ques_read=2694



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น